
การออกกำลังกายอย่างปลอดภัย
การออกกำลังกายอย่างปลอดภัย
สำหรับท่านที่ออกกำลังกายใหม่ๆมักจะไม่ได้ประเมินตัวเองทำให้เสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุในขณะออกกำลังกาย และมักจะเข้าใจผิดว่าต้องออกให้หนักให้นานจึงจะเกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด การออกกำลังกายอย่างปลอดภัยจะต้องเริ่มที่ละน้อย ค่อยเพิ่มความหนักและระยะเวลาที่ออกกำลังกาย
แนวทางการออกกำลังกายอย่างปลอดภัย
1.การเลือกอุปกรณ์อย่างเหมาะสม
การเลือกรองเท้าให้เหมาะกับการออกกำลังกาย เมื่อจะออกกำลังกายอะไร ควรจะเลือกรองเท้าสำหรับการออกกำลังกายชนิดนั้น เช่นรองเท้าวิ่ง รองเท้าสำหรับการเล่นกีฬาต่างๆ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุหรือการได้รับอันตราย
เสื้อผ้าที่ใส่ต้องเหมาะกับการออกกำลังกาย และสภาวะแวดล้อม ในการออกกำลังกายในกลางแจ้งที่อบอ้าว เสื้อควรจะบางและระบายอากาศได้ดี
หากจะออกกำลังกายโดยการยกน้ำหนัก ก็ต้องเลือกน้ำหนักที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
2.การออกกำลังกายอย่างสมดุล
ในการออกกำลังจะต้องเลือกการออกกำลังหลายๆแบบ เพื่อป้องกันการออกกำลังแบบใดแบบหนึ่งมากเกินไป และลดความเบื่อในการออกกำลังกาย การออกกำลังจะต้องประกอบไปด้วย การยืดหยุ่น การออกกำลังเพื่อให้หัวใจแข็งแรง การออกกำลังเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การออกกำลังเพื่อให้กล้ามเนื้อทนต่อการออกกำลัง
3.การอบอุ่นร่างกาย
การอบอุ่นร่างกายจะเป็นการเตรียมกล้ามเนื้อ หัวใจ และหลอดเลือดให้พร้อมสำหรับการออกกำลังกาย อ่านที่นี่
4.การยืดกล้ามเนื้อ
การยืดกล้ามเนื้อเป็นการยืดกล้ามเนื้ออย่างช้าๆเพื่อให้กล้ามเนื้อยืดและมีความผ่อนคลาย การยืดกล้ามเนื้อ
5.ให้เวลากับการออกกำลังกาย
จะยืดจนกล้ามเนื้อตึงและค้างไว้ 10-20 นาทีขณะเดียวกันก็หายใจเข้าออกช้าๆเพื่อให้ความดันโลหิตลดลงและเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมอง เล่นบาคาร่าออนไลน์ได้ที่ บาคาร่า
6.ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
การดื่มน้ำอย่างเพียงพอจะป้องกันการขาดน้ำ การเป็นลมแดด ก่อนออกกำลังกาย 15 นาทีให้ดื่มน้ำหนึ่งแก้ว หลังออกกำลังกายให้ดื่มน้ำ 1 แก้ว ทุก 20 นาทีในขณะออกกำลังกายให้ดื่มน้ำหนึ่งแก้ว
7.การอบอุ่นร่างกาย
เมื่อจะเลิกออกจะต้องอบอุ่นร่างกายโดยการลดความแรงลงให้ใช้เวลาประมาณ 10 นาที อย่าหยุดออกกำลังทันทีทันใด
8.ก่อนออกกำลังกายจำเป็นต้องตรวจร่างกายหรือไม่
ถ้าหากท่านได้เตรียมความพร้อมที่จะออกกำลังกายแล้ว อยากจะฟิตร่างกายท่านสามารถทำได้ทันทีท่านควรจะอ่านเรื่อง ก่อนออกกำลังกายจำเป็นต้องตรวจร่างกายหรือไม่หรือหากเกิดอาการดังต่อไปนี้ต้องปรึกษาแพทย์
- ถ้าหากท่านอายุมากกว่า 45 ปี
- มีโรคความดันโลหิตสูง
- มีโรคเบาหวาน
- มีโรคไขมันในเลือดสูง
- สูบบุหรี่
- ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
- มีอาการเจ็บหน้าอก หรือเหนื่อยง่าย
- มีอาการหน้ามืด
ปัจจัยเสี่ยงของการได้รับอุบัติเหตุขณะออกกำลังกาย
- ระยะเวลา ความหนัก และความถี่ของการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกที่เพิ่มเร็วเกินไป
- สภาพอากาศที่ร้อน หรือเย็นไป
- ใช้อุปกรณ์ออกกำลังที่ไม่เหมาะสม
- เคยได้รับอุบัติเหตุมาก่อน
- สูบบุหรี่ หรือไม่ได้ออกกำลังกาย
- ร่างกาย กล้ามเนื้อ หัวใจไม่แข็งแรง
ดังนั้นหากท่านมีสภาพดังกล่าวควรจะเพิ่มการออกกำลังที่ละน้อย
การออกกำลังกายอยู่กับบ้าน

บางคนที่ไม่สะดวกออกไปออกกำลังกายนอกบ้าน แต่อยู่ในบ้านก็ไม่มีพื้นที่กว้างพอให้เดินยืดเส้นยืดสาย กรณีแบบนี้ก็สามารถหาวิธีออกกำลังกายแบบแอโรบิก และยืดเหยียดกล้ามเนื้อได้เหมือนกัน เพียงแต่ต้อง
เลือกหากีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสมและปลอดภัย เพราะคนกลุ่มที่ว่านี้ ส่วนใหญ่มักหนีไม่พ้นผู้สูงอายุ เพียงแต่มีข้อแม้อยู่ว่า ถ้าจะออกกำลังกายภายในบ้าน ให้หาที่ปฏิบัติที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
วิธีการออกกำกลังแบบแอโรบิก ที่เหมาะสมที่จะทำให้ที่ปิดหรือในบ้าน ก็คือ การปั่นจักรยานนั่งเอนปั่น เพราะเหมาะสมปลอดภัยโดยเฉพากับผู้สูงอายุ และผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวหนัก ๆ
วิธีปฏิบัติมีดังนี้
1. ปรับระดับอานนั่งให้เหมาะกับช่วงขาในขณะเหยียดสุดข้อเข่า มีมุมงอเล็กน้อย
2. ขณะถีบให้รอบความเร็วคงที่อยู่ที่ 60-70 รอบต่อนาที
3. ให้ถีบในน้ำหนักเบาก่อนเพื่ออบอุ่นร่างกาย ใช้เวลาประมาณ 3-5 นาที
4. ช่วงนี้ให้เพิ่มความหนักตามลำดับโดยกำหนดอัตราการเต้นของชีพจรในช่วง 60-80% ของอัตราการเต้นชีพจรสูงสุด ใช้เวลา 20-30 นาที
5. ช่วงสุดท้ายให้ค่อย ๆ ปรับลดระดับการออกกำลังกายโดยใช้เวลาประมาณ 3-5 นาที เพื่อเป็นการผ่อนคลาย และลดระดับการออกกำลังการลงให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะปกติ
การออกกำลังด้วยสายยางยืดช่วยพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงมุมการเคลื่อนไหวของข้อต่ออย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติของยางจะมีความยืดหยุ่น สะดวกต่อการปรับระดับความหนักของแรงต้านในขณะออกแรงดึง ซึ่งจะช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และระบบประสาทสั่งการของกล้ามเนื้อ ปฏิบัติ 15-20 ครั้งต่อชุด 3-5 ชุดต่อวัน อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
เพียงเท่านี้ก็เริ่มมีสุขภาพดีแบบเริ่มต้นที่บ้านได้เหมือนกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก การออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ณรงค์ศักดิ์ ใจซื่อ และณรงค์ จันทร์หอม ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คระแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
การเริ่มต้นออกกำลังกาย

กระตุ้นตัวเองให้ออกกำลังกาย
- ให้นึกถึงเป้าหมายเรื่องน้ำหนักที่จะลด
- ท่านอาจจะไม่ได้นึกถึงตัวเอง ท่านต้องนึกถึงลูกหลาน หากท่านออกกำลังกายเป็นประจำเมื่อท่านสูงอายุท่านอาจจะดูแลลูกหลานได้ หากท่านไม่ดูแลตัวเองท่านอาจจะเป็นภาระสำหรับลูกหลาน
- นึกถึงโรคที่ท่านกลัวหรือโรคของครอบครัว หากท่านไม่ดูแลตัวเอง โรคต่างๆจะมาเยี่ยมท่าน
- นึกถึงความผ่อนคลายหลังการออกกำลังกาย นอนหลับสบายกว่าคนไม่ได้ออกกำลังกาย
- นึกถึงสุขภาพ หากสุขภาพดีท่านจะทำงานได้มากกว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลัง
- หลายท่านไม่เคยออกกำลังมาก่อนเมื่อเริ่มออกกำลังอาจจะทำให้เหนื่อยง่าย วิธีที่ดีที่สุดของการเริ่มต้นออกกำลังกาย คือให้เริ่มออกกำลังกายจากกิจวัตรประจำวัน เช่น
- ใช้การเดินหรือขี่จักรยานเมื่อไปที่ไม่ไกล
- หยุดใช้รถหนึ่งวันแล้วใช้การเดินไปทำงานสำหรับผู้ที่บ้านและที่ทำงานไม่ไกล
- ใช้บันไดแทนการขึ้นลิฟต์หรือบันไดเลื่อน
- ขี่จักรยานรอบหมู่บ้าน
- ทำงานบ้าน เช่นทำสวน ล้างรถ ถูบ้าน
- ออกกำลังโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตก่อน เช่น การทำสวน การเดินขึ้นบันได การเต้นรำซึ่งยังไม่ได้เกณฑ์ aerobic แต่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจจะได้ประมาณร้อยละ 50 เมื่อออกกำลังต่อเนื่องเป็นเวลา 5-6 เดือนก็จะเพิ่มการเต้นของหัวใจได้ถึงร้อยละ 75-85
ทำกิจวัตรเหล่านี้ทุกวันเป็นเวลา 2-3 เดือนจึงเริ่มต้นเพิ่มการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เช่น
- การเดินให้เร็วขึ้นสลับกับการเดินช้า
- ขี่จักรยานนานขึ้น
- ขึ้นบันไดหลายขั้น
- ขุดดินทำสวนนานขึ้น
- ว่ายน้ำ
- เต้นแอร์โรบิค แต่ไม่ต้องนาน
- เต้นรำ
- เล่นกีฬา เช่น ปิงปอง แบดมินตัน เทนนิส
- หลังจากที่เตรียมความพร้อมร่างกายแล้ว เรามาเริ่มต้นฟิตร่างกายกัน
หลังจากเตรียมความพร้อมแล้ว คุณได้ออกกำลังกายเป็นประจำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การฟิตร่างกายสามารถทำได้โดย
โดยการวิ่งเร็วขึ้น นานขึ้น
- ว่ายน้ำนานขึ้น
- การฟิตร่างกาย
คุณต้องติดตามความก้าวหน้าของการออกกำลังกายเช่น เวลาที่ใช้ในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น ระยะทางในการออกกำลังกายเพิ่ม หัวใจเต้นได้ดี
การแพ้ลมลมแดด ทำให้ร่างกานอ่อนเพลีย
เป็นภาวะที่มีอาการน้อยที่สุดที่เกิดจากภาวะอากาศร้อน ผู้ป่วยมักจะอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อน และได้รับสารน้ำไม่เพียงพอ มักจะเกิดในคนสูงอายุ คนที่มีความดันโลหิตสูง และอยู่ในที่อากาศร้อนเป็นเวลานาน
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดดได้แก่
- ทารกจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดลมแดด เป็นสองเท่าของผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กไม่สามารถไปดื่มน้ำเองได้
- ผู้สูงอายุเนื่องจากเหตุผลสองประการได้แก่ การทำงานของสมองถดถอยไม่สามารถปรับตัวเนื่องจาก อุณหภูมิที่ขึ้นสูงทันที และผู้สูงอายุรับประทานยาที่ขับน้ำ
- คนอ้วนเนื่องจากร่างกายไม่สามารถปรับความสมดุล ของน้ำ
- ผู้ที่ออกกำลังกายนานเกินไป
สาเหตุ
จากสภาวะอากาศที่ร้อน และมีความชื้นสูง และร่างกายไม่สามารภระบายความร้อนออกจากร่างกาย ด้วยวิธีการขับเหงื่อ ประกับกับเรารับประทานน้ำและเกลือแร่ไม่พอ
อาการแสดงที่บอกเราว่าจะเกิดภาวะนี้ได้แก่
- เหงื่อออกมาก
- หน้าซีด
- ตะคริว
- อ่อนเพลีย
- มึนงง
- ปวดศรีษะ
- คลื่นไส้อาเจียน
- เป็นลม
หากเราตรวจดูผู้ป่วยจะพบว่า
- ผิวเย็นชื้น
- ชีพขจรเร็วและเบา
- หายใจไว
หากเราพบผู้ที่มีอาการดังกล่าวจะให้การปฐมพยาบาลอย่างไร
- ให้น้ำดื่ม อาจจะเป็นน้ำเกลือแร่ก้ได้
- นอนพัก
- ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หรืออาบน้ำ
- นอนในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ
- สวมเสื้อบางๆ
- ห้ามใช้แอลกอฮอลล์เช็ดตัว
- จะไปพบแพทย์เมื่อใด
หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัว
- ซึม ไม่รู้ตัว
- ดื่มน้ำได้น้อย
- ปวดท้องหรือแน่หน้าอก
ติดตามเรื่องราวใหม่ๆได้ที่: pgslotgame , live22 , slotxo Sexy Gaming