
ชีวิตแห่งโยคะ
ชีวิตแห่งโยคะ สวัสดีปีใหม่ พ.ศ.2563 ครับ คอลัมน์โยคะช่วงที่ผ่านมา ผมได้ทยอยแปลโยคะบำบัด ของครูกุลวัลยนันท์ ผู้ก่อตั้งสถาบันโยคะไกวัลยธรรม ประเทศอินเดีย จนเสร็จสิ้นลง ตั้งใจจะรวมเป็นเล่ม เพื่อเผยแพร่ไปยังผู้สนใจเรื่องโยคะบำบัด ซึ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้นๆ
เรื่องวิถีทางแห่งโยคะกันดีกว่า ตอนที่ 1
ชีวิตแห่งโยคะ ใครที่อ่านตำราปตัญชลีโยคะสูตร ก็จะรู้ว่าวิถีแห่งโยคะนั้น ประกอบด้วยอัษฎางค์โยคะ หรือหนทาง 8 ประการ แต่ทำไมผู้คนในสังคมจึงยังคงฝึกโยคะกันเป็นก้อนๆ ฝึกกันแบบแยกส่วน คือฝึกกันแต่ท่าโยคะ ที่น่าสังเกตคือคนสนใจโยคะกันมากมาย หนังสือโยคะขายดิบขายดีกันมาก แต่ไม่เห็นผู้คนบรรลุโยคะกันตามสัดส่วนเลย ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะพูดถึงวิถีโยคะโดดๆ หากแต่เราต้องพูดถึงวิถีโยคะในภาพรวมทั้งหมด กล่าวคือเพื่อจะให้ “วิถี” มีความสมบูรณ์ เราต้องคำนึงถึงเป้าหมาย และจุดเริ่มต้นจริงๆ แล้วเราต้องพูดถึงเป้าหมายของโยคะ และจุดเริ่มต้นของผู้ฝึกโยคะ ก่อนจะพูดถึงวิถีโยคะด้วยซ้ำ
ปตัญชลีโยคะสูตรมีอยู่ 4 บท รวม 196 ประโยค ประโยคสุดท้ายคือบทที่ 4 ประโยคที่ 34 กล่าวไว้ว่า
“เมื่ออคติหรือการตีความต่างๆ นานาของจิตหมดไป สภาวะเดิมแท้ก็ปรากฏขึ้น สภาวะเดิมแท้นี้ก็คือ จิต (ที่ทำหน้าที่รู้) กับ กาย (อันเป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้) กลับคืนสู่ธรรมชาติเดิมแท้ คือต่างฝ่ายต่างดำรงอยู่โดยเป็นอิสระจากกัน (จากที่เดิมจิตไปตู่เอาเองว่ากายนี้เป็นของฉัน) จิตที่เป็นอิสระนี้ เรียกว่าไกวัลย อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการฝึกโยคะ (อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเกิดมาเป็นมนุษย์) PYS 4.34”
ไม่ทราบผู้อ่านรู้สึกเหมือนผมในขณะนี้หรือไม่ คือยิ่งอ่านตำราก็ยิ่งตระหนักถึงคุณค่าของโยคะในการพัฒนาจิต (ไม่ใช่การพัฒนากาย) ประโยคสุดท้ายของโยคะสูตร บ่งบอกชัดเจนว่าจิตมนุษย์ในธรรมชาติแท้นั้น มัน “รู้” อย่างเดียว รู้อย่างซื่อๆ รู้ด้วยความเป็นกลาง ไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากการ “รู้” และจิตที่รู้ลูกเดียวนั้นเป็นไกวัลย หรือ “บรมสุข”
แล้วไอ้ทุกข์ต่างๆ ของเรามาจากไหน ก็มาจากจิตที่มันทำหน้าที่อื่นๆ ให้เราด้วย ในทรรศนะของปตัญชลี นอกจาก “รู้” จิตยังงานหลักๆ อีก 2 – 3 อย่าง แต่จะขอกล่าวแค่ 2 อย่าง คือ 1) จำสิ่งที่ผ่านมา กับ 2) คิดไปถึงสิ่งที่ยังไม่เกิด pg slot
หน้าที่ของจิต 2 ประการนี้ ก็เป็นสิ่งจำเป็นนะ (ไม่งั้นมนุษย์ก็ดำเนินชีวิตไม่ได้นะ) ปัญหาจริงๆ ของเราคือ เมื่อใช้จิตทำหน้าที่ 2 ประการนี้แล้ว เราไปกอด ไปรัดมันไว้อย่างเหนียวแน่น ไม่ปล่อย ไม่วางมัน ไปยึดมันไว้จนแนบแน่น อะไรๆ ก็ต้องไปผูก – ไปเทียบกับสิ่งที่ผ่านมา อะไรๆ ก็ต้องจินตนการล่วงหน้าไว้ก่อน ที่รวมเรียกว่าอคตินั่นเอง
การที่เรามาฝึกโยคะกัน ผลที่เราจะได้รับก็คือการมีจิตรับรู้สิ่งต่างๆ โดยปราศจากอคติ การมีจิตที่หยุดการตีความ หยุดการใส่สีใส่ไข่ หยุดการให้ค่าว่านั่นดี นี่ไม่ดี หยุดการเกลียดความชั่ว หยุดการรักความดี เพราะความดี – ความชั่ว แม้จะมีความสำคัญในระดับการดำเนินชีวิตเบื้องต้น แต่ในเบื้องปลายแล้ว ก็ถือว่าเป็นการตีความของจิตอยู่ดี
ผู้อ่านนิตยสารหมอชาวบ้านนี้ คงเห็นเช่นเดียวกับผมว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะ ไม่ควรเอามากๆเลย ที่จะฝึกโยคะโดยไม่มีความรู้เกี่ยวกับโยคะสูตร เมื่อตระหนักเช่นนี้แล้ว บทบาทสำคัญประการหนึ่งในการเผยแพร่โยคะก็คือการรณรงค์ให้คนฝึกโยคะมีโอกาสเข้าถึงตำราดั้งเดิม ผมเชื่อว่ามนุษย์ไม่เคยปฏิเสธสิ่งที่ดีกว่า เมื่อยังไม่มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลความรู้ เขาก็จะฝึกโยคะในขอบเขตที่จำกัด ครั้นเมื่อมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลความรู้ slot การฝึกโยคะของเขาก็จะโน้มเข้าใกล้ประโยคสุดท้ายของโยคะสูตรมากขึ้นๆ
ผมเชื่อว่าผู้อ่านคงเห็นเช่นเดียวกับผม ถ้าคนสนใจฝึกโยคะทุกคนตั้งต้นจากประโยคสุดท้ายของโยคะสูตรนี้ โลกใบนี้อันเต็มไปด้วยคนฝึกโยคะมากมายไปหมด คงสงบ ร่มเย็น และน่าอยู่มากๆ เลย เฮ้อ…
เรื่องวิถีทางแห่งโยคะกันดีกว่า ตอนที่ 2
มนุษย์ทุกคนล้วนเดินทางไปสู่ความสุข คนส่วนใหญ่อยู่ในโลกแห่งวัตถุ ก็จะแสวงหาความสุขที่อิงกับวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน เงินทอง ลาภยศ คำสรรเสริญ โดยมีคนส่วนน้อยที่ไม่ได้ใส่ใจกับวัตถุ ก็จะแสวงหาความสุขที่ละเอียด เป็นความสุขที่ไม่อิงวัตถุ ความสุขที่มีอยู่ภายในตนเอง ซึ่งไม่ว่าเรากำลังสนใจความสุขระดับไหน เมื่อพัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป ความสุขของเราก็จะละเอียดลงๆ
ฉบับที่แล้วเราพูดถึงเป้าหมายสุดท้ายของโยคี คือจิตที่คืนสู่สภาวะเดิมแท้ หยุดการปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง เห็นตามความเป็นจริง เป็นอิสระอย่างแท้จริง ฉบับนี้ เรามาพูดถึงจุดเริ่มต้นกัน (โปรดสังเกตว่า ในการเดินไปตามวิถี หรือในการทำอะไรก็แล้วแต่ เราเริ่มจากวางเป้าหมายให้ชัดก่อน)
จุดเริ่มต้นของวิถีแห่งโยคะก็คือการตระหนักถึงสถานภาพของเรา ณ ตอนเริ่มต้นนี้นั่นเอง ซึ่งก็มีความสำคัญในการกำหนดวิถีชีวิตเช่นกัน ผู้ฝึกบางคน ได้ยินใครต่อใครพูดกันว่าโยคะดี เห็นภาพคนทำท่าโยคะได้อย่างสวยงาม ก็ทำท่าตามเลย (โดยไม่รู้ว่าโยคะคืออะไร โดยไม่รู่ว่าตัวเองเป็นอย่างไร) อาจได้รับบาดเจ็บ ได้รับโทษจากการฝึกโยคะ
กล่าวได้ว่า การเห็นเป้าหมาย และรู้จุดยืนของตนเอง ณ ปัจจุบัน จะเป็นการสร้างวิถีขึ้นมา เป็นการสร้างทรรศนะในการดำเนินชีวิตขึ้นมา ซึ่งจะเป็นวิถีเฉพาะตน ที่เหมาะสมสอดคล้องกับตนเอง เพราะแม้จะมีเป้าหมายเดียวกัน หากคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่คนจะมีวิถีเหมือนกันเป๊ะ
วิถีนี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องออกแบบให้กับตนเอง ลอกเลียนแบบกันไม่ได้ ดังนั้น การที่เราจะทำท่าโยคะท่าไหน ทำอย่างไร ทำนานแค่ไหน ครูอาจจะช่วยแนะนำในเบื้องต้น แต่เราต้องเป็นคนจัดปรับให้เหมาะสมกับตนเอง
เป้าหมายชัดแล้ว เห็นจุดตั้งต้นแล้ว ออกแบบวิถีที่จะดำเนินแล้ว จากนั้นก็ ออกเดิน ด้วยความเพียร (โยคะนั้น ดำเนินไปด้วยความเพียร และความละวาง)
ถ้าถามว่าในการฝึกโยคะ ส่วนไหนยากที่สุด ผู้เขียน อยากจะตอบว่าความเพียร นี่แหละยากที่สุด ตำราโยคะ โบราณไม่เคยบอกเลยว่าให้ทำท่าไหน แค่ไหน อย่างไร บอกเพียงให้มีความเพียร ให้ทำด้วยความสม่ำเสมอ ลองพิจารณาดูให้ดี ใครก็ตามที่ตั้งเป้าไว้ชัด หันทิศได้ถูกต้อง แล้วออกเดิน ย่อมต้องบรรลุเป้าหมายอย่างแน่นอน สล็อต (ถ้าชาตินี้หมดเวลาเสียก่อน ก็มาเดินต่อชาติหน้า)
ผู้เขียนเคยปรึกษา นายแพทย์ วิศาล คันธารัตนกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทำวิจัยเรื่อง การรณรงค์ให้ประชาชนออกกำลังกาย ซึ่งระบุไว้ในงานวิจัยว่า ปัญหาที่หนักที่สุดคือ การชักชวนให้ประชาชนมาทำให้ได้อย่างสม่ำเสมอนั่นเอง เมื่อตระหนักข้อเท็จจริงนี้ ผู้อ่านที่จะดำเนินวิถีโยคะจะได้รู้จุดอ่อน และหาวิธีป้องกัน (ไม่ให้ตัวเองขี้เกียจน่ะ)
นอกจากการปฏิบัติให้สม่ำเสมอแล้ว ความเพียรอีกด้านหนึ่ง ที่ผู้เขียนเห็นว่าสำคัญที่สุดสำหรับคนไทยคือ ความเพียรที่จะคิด ที่จะพิจารณาไตร่ตรอง ประเด็นนี้ได้เขียนมาหลายครั้งแล้ว และทุกครั้งที่ไปสอนโยคะ ก็จะพูดถึงประเด็นนี้เสมอ เพราะพวกเราชาวไทย ยังคิดน้อยมาก ยังไม่มีทักษะในการคิด
ผู้เขียนอยากเห็นเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติด้วยซ้ำ ไม่เพียงแต่ในบรรดาผู้สนใจฝึกโยคะเท่านั้น ในกลุ่มประชาชนทั่วไป ในกลุ่มคนเมือง แม้กระทั่งในองค์กรธุรกิจที่ใหญ่โต ก็พบว่า เราขาดความประณีตในการคิด การวิเคราะห์ การไตร่ตรองยังน้อยเกินไป
ขออนุญาตนอกเรื่องเล็กน้อย สำหรับผู้สนใจเรื่องพัฒนาการคิด ผู้เขียนแนะนำหนังสือ วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์ ที่วางหลักการไว้ให้เราได้ศึกษาและลองปฏิบัติ ใครไม่ถนัดคำพระคำบาลี ก็ลองหนังสือแนะนำเรื่องการคิดที่เป็นสากล ได้รับการยอมรับ เช่น แผนที่ความคิด Mind map ของ Tony Buzan ซึ่งมีภาคภาษาไทยโดย อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ หรือหนังสือวิธีคิดต่างๆ ของแพทย์ชาวอังกฤษ Edward de Bono ผู้ใช้เวลากว่า 30 ปี เขียนหนังสือเกี่ยวกับการคิด 80 เล่ม ซึ่งได้รับการแปลกว่า 40 ภาษาทั่วโลก ฯลฯ แทงบอลออนไลน์ ที่นี่ betufa
โดยสรุป วิถีโยคะประกอบด้วย
1) เป้าหมายที่ชัดเจนคือจิตที่ปลอดจากอวิชชา
2) จุดเริ่มต้นที่ตรงตามความเป็นจริงคือการตระหนักถึงจุดยืนของตนเอง รู้ขีดความสามารถ ข้อจำกัดของตนเอง
3) วิถีทางที่จะเดิน ทรรศนะ ซึ่งโยคีแต่ละคนจะต้องออกแบบให้เหมาะสมสอดคล้องกับตนเอง
4) ความเพียรที่จะก้าวเดินไปอย่างสม่ำเสมอ ทั้งวินัยในการปฏิบัติและการติดอาวุธทางความคิดให้กับตนเอง และอย่าลืมที่จะละวาง คือตัดอุปสรรคอันได้แก่ “ความคาดหวัง” ทิ้งไป พึงระลึกว่าว่าอะไรที่เราทำได้ ต้องเพียรทำให้ถึงที่สุด ส่วนผลนั้น อยู่นอกขอบเขตของเราโดยสิ้นเชิง ผลเกิดจากเหตุที่เราใส่เข้าไปเท่านั้น ไม่ได้เกิดจากการบังคับ คาดคั้นของเราแต่อย่างใด
วิถีชีวิตแห่ง โยคะยามเช้า
ฉบับที่ผ่านมา เราได้คุยกันไปว่าก่อนจะเริ่มเดินบนวิถีแห่งโยคะ วิถีสู่ความสมดุลของสุขภาพ จะต้องทบทวนองค์ประกอบ 4 ประการ
- เป้าหมายสูงสุดที่เราจะไปให้ถึง
- จุดเริ่มต้นของตัวเราเอง ศักยภาพ จริตของเรา ณ ขณะนี้
- แนวทางเดินที่เราได้พิจารณา เลือกแล้วว่าน่าจะเป็นแนวนี้ และ
- ความเพียร ทั้งวินัย และการหมั่นทบทวนการเดินทางของเราเป็นระยะๆ คราวนี้ เราเข้าเรื่องวิถีฯ กัน
มาเริ่มกันตั้งแต่ตื่นนอนเลย พวกเราคนรักโยคะตื่นกันตอนกี่โมง?
จริงๆ ตัวเลขไม่ใช่สาระหรอก ที่สำคัญอยากให้เราทบทวนว่าเวลาที่ตื่นอยู่ทุกเช้านี้ลงตัวไหม? และเวลาที่เราตื่นนี้ เหมาะสมแล้วหรือยัง
ผมคงไม่ระบุตัวเลขว่าต้องเป็นกี่โมง เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวจริงๆ ต่างคนต่างต้องบริหารจัดการกันเอง เรามาพูดถึงหลักคิดดีกว่า ผมแบ่งเวลาตื่นเป็น 2 ลักษณะคือ ตื่นก่อนเช้า และตื่นหลังเช้า แทงบอลออนไลน์ ที่นี่ ทางเข้า ufabet
นักเรียนโยคะที่ได้คุยด้วย ส่วนใหญ่ตื่นหลังเช้า หมายถึงว่าเวลาที่ตื่นมานั้น สิ่งแวดล้อมแทบทุกอย่างรอบตัวตื่นแล้ว เช่น พระอาทิตย์ตื่นแล้ว ท่านปลุกชีวิตทั้งหลายขึ้นมารอเราแล้ว น้ำเต้าหู้หน้าปากซอยตั้งโต๊ะขายแล้ว กำลังรอเราไปซื้อหนังสือพิมพ์มาส่งแล้ว (หรือรายการข่าวเช้าทางทีวีเริ่มแล้ว) รอไปเปิดอ่าน-เปิดดู ลูกตื่นแล้ว กำลังรอเราไปดูแล
บางคนได้โบนัสเพิ่ม คือเจ้านายโทร.มาสั่งงานก่อนเราลุกจากเตียงเสียอีก การตื่นแบบนี้ เราเป็นฝ่ายตั้งรับ ออกจะเสียเปรียบ เพราะทุกสิ่งล้ำหน้าเราไปแล้วทั้งสิ้น แทบจะไม่มีเวลาตั้งตัว แทบจะไม่มีเวลาเป็นของตัวเองเลย ตั้งแต่วินาทีแรกที่ลืมตาสัมผัสชีวิตของวันใหม่เลยแหละ
วิถีชีวิตแห่ง โยคะเป็นเรื่องของการตื่นก่อนเช้า เราลุกขึ้นมาขณะที่ทุกอย่างยังคงหลับใหล ทำให้มีเวลาสำหรับตัวเอง หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Me Time คือช่วงเวลาที่เป็นของฉันจริงๆ เป็นช่วงเวลาที่คนรักโยคะฝึกอาสนะ ฝึกลมหายใจ ฝึกสมาธิ เช่นกัน ใครจะฝึกอะไรก่อนหลัง ใครจะฝึกอะไรกี่นาที เป็นเรื่องเฉพาะตนที่ไม่มีใครตอบเราได้นอกจากตัวเราเอง
ช่วงเวลาแรกของชีวิตใหม่นี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ตนเอง บางคนใช้คำว่า “รู้กาย – รู้ใจตนเอง” บ้างใช้คำว่า “รู้และเข้าใจตนเอง” ได้ทั้งนั้น การค่อยๆ ฝึกทักษะแห่งการหยั่งรู้เข้าใจตนเองนี้แหละ เป็นการสะสมระยะทางสู่เป้าหมายสูงสุด ผมเรียกว่าเป็นการหยอดกระปุกสู่นิพพาน ถ้าพวกนักการตลาดเขาเรียกสะสมแต้มอะไรทำนองนั้น
พวกเราคนอ่านหมอชาวบ้านล้วนเป็นฆราวาส ยังต้องรับผิดชอบภาระต่างๆ หลายอย่าง แต่เราก็สนใจเรื่องการพัฒนาจิตด้วย เราไม่อาจทุ่มเทเวลาทั้ง 24 ชั่วโมง ไปเพื่อการพัฒนาจิต แต่เราก็รู้ว่า ต้องบริหารเวลาส่วนหนึ่งไว้เพื่อการนี้ และเราก็เลือกเราเวลาก่อนเช้า (ซึ่งเป็นเวลาที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายเห็นด้วยร่วมกันว่าเป็นเวลาที่ดีที่สุดของวัน) นี่แหละ มาฝึกโยคะ
เมื่อช่วงตรุษจีนที่ผ่านมานี่เอง ครูท่านหนึ่งมาคุยด้วย แกฝึกโยคะสม่ำเสมอทุกเช้ามา 2 ปีแล้ว ทำไมพักหลังไม่รู้สึกอยากทำท่าอาสนะ ตื่นมาก็ฝึกสมาธิ หรือบางทีก็รู้สึกอยากเคลื่อนไหวอื่นๆ ที่ไม่ใช่รูปแบบท่าโยคะอาสนะ แกถามผมว่ามันผิดไหม?
ผมถามกลับไปว่ายังเป็นการตื่นเวลาเดิมใช่ไหม แกตอบว่าใช่
ผมถามว่าที่ไม่ทำท่าอาสนะนั้น ไม่ใช่เพราะขี้เกียจนะ แกตอบว่าไม่
ผมถามว่าหลังการใช้เวลาก่อนเช้าอยู่กับตนเอง แม้ทำท่าอาสนะน้อยลง แต่ความรู้สึกสุดท้ายคือความสงบจิต สงบใจ ยังได้รับเช่นเดิมไหม แกบอกว่าเหมือนเดิม
ผมบอกว่าคุณก็ยังคงทำโยคะอยู่นี่นา แม้จะไม่ได้ทำท่าอาสนะก็ตาม
ห้วงเวลาก่อนเช้านี่เอง ที่ทำให้โยคีมีความเป็นโยคี เพราะเป้าหมายสูงสุดของโยคีคือการบรรลุสภาวะที่จิตมีความสงบ ละเอียด จนขจัดม่านแห่งอวิชชา (ที่เบาบางลงมากแล้ว) ออกเสียได้ หยั่งรู้สู่ความจริงแท้ของโลกและความจริงแท้ของจิต ซึ่งยิ่งเราใช้เวลาก่อนเช้ามาพัฒนาทักษะได้มากเท่าได ก็ยิ่งเคลื่อนเข้าใกล้เป้าหมายมากเท่านั้น ส่วนเรื่องการห่มด้วยท่าอาสนะที่ดูแปลกตา ดูน่าทึ่ง เป็นแค่เปลือกภายนอก เท่านั้น
เรื่องตื่นก่อนเช้านี้ ผู้ฝึกโยคะเบื้องต้นหลายคนบ่น คือเขารู้นะว่าดี แต่นอนดึกเลยตื่นไม่ไหว ผมเองเห็นด้วยว่าอย่าไปฝืนสังขาร อย่าไปเสียสตางค์ซื้อนาฬิกาปลุก แต่น่าจะกลับมาทบทวนว่าทำไมนอนดึกต่างหาก ซึ่งพอถามเข้าจริงๆ (ยกเว้นเพื่อนพยาบาลที่มีข้อจำกัดของเวลา) แทบทุกคนล้วนพบว่า การใช้เวลาช่วงดึกที่ผ่านมา ไม่มีคุณภาพเอาซะเลย เอ้าเมื่อรู้แล้วก็เหลือแค่ “ทำ”
ติดตามเรื่องราวใหม่ๆได้ที่: pgslotgame , live22 , slotxo
หากต้องการเล่น คลิก ufabet